บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ลักษณะข้อสอบเงื่อนไขภาษา

ข้อสอบเงื่อนไขภาษา ถ้าพิจารณาอย่างคร่าวๆ ดูเหมือนจะยาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นข้อสอบที่ง่าย แต่ต้องใช้เวลาในการทำมากพอสมควร

โจทย์ของข้อสอบแบบนี้ จะมีเนื้อหาเป็นข้อๆ ของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น

- เช้าวันจันทร์ สุพรและคณะไปสถานีขนส่งสายเหนือ
- สุมล ไปสถานีขนส่งสายใต้
- สุเทพกับมานพไปกับสุพร แต่น้องของมานพไปกับสุมล
- มาลีโทรศัพท์ไปนัดสุมล
- สุดา และสุพรไปด้วยกัน

จากนั้น จึงจะเป็นชุดของข้อสรุป เช่น

ข้อที่ 1 ก. สุพรและเพื่อนจะเดินทางไปภาคเหนือ
ข. มาลีไปสถานีขนส่งสายใต้
ข้อที่ 2. ก. สุมลไปสถานีขนส่งสายใต้คนเดียว
ข. คณะของสุพรมีทั้งหมด 3 คน
ข้อที่ 3. ก. มานพมีน้องสาว
ข. สุเทพ สุพร สุดา และมาลี เป็นพี่น้องกัน
ข้อที่ 4. ก. สุเทพ สุพร สุดา ไปด้วยกัน
ข. สุเทพมีน้อง
ข้อที่ 5. ก. มานพ มาลี สุมล ไปด้วยกัน
ข. คณะของสุมลมี 2 คนเท่านั้น

ข้อสรุปของแต่ละข้อนั้น เราต้องมาพิจารณาตามหลักของตรรกวิทยาหรือเงื่อนไขของภาษาว่าเป็นอย่างไรใน 3 อย่าง คือ

เป็นจริง – ไม่จริง – ไม่แน่

ในแต่ละข้อนั้น มีข้อสรุป 2 ข้อ ดังนั้น ในแต่ละข้อสรุป อาจจะได้คำตอบ ดังนี้
  


จากตารางต้น

ถ้าเป็นแบบแถวที่ 1 ให้ตอบ ก.
ถ้าเป็นแบบแถวที่ 2 ให้ตอบ ข.
ถ้าเป็นแบบแถวที่ 3 ให้ตอบ ค.
ถ้าเป็นแบบแถวที่ 4 - 7 ให้ตอบ ง.

โดยคำสั่งของโจทย์ในการสอบจริง จะเป็นอย่างนี้

ตอบข้อ ก ถ้าข้อสรุปทั้งสองถูก หรือเป็นจริงตามเงื่อนไข
ตอบข้อ ข ถ้าข้อสรุปทั้งสองผิด หรือไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข
ตอบข้อ ค ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด ว่าถูกหรือผิดตามเงื่อนไข
ตอบข้อ ง ถ้าข้อสรุปทั้งสองมีข้อสรุปอันใดอันหนึ่งที่เป็นจริง ไม่เป็นจริง หรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่ซ้ำกับอีกข้อสรุปหนึ่ง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น